This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
Messages - เจ๊วู
1
« เมื่อ: มกราคม 23, 2021, 02:14:43 PM »
พลอย สังเกตุเห็น แม่แต่งตัวประณีตเป็นพิเศษ
ไม่แต่งลวก ๆ เหมือนกับ อยู่ที่บ้าน แม่ทาน้ำอบไทย ทั่วตัว
แล้วก็เอาพัด พัด จนแห้ง แต่แล้วก็ ทาน้ำอบ ทับอีกตลบหนึ่งจึ่งได้ลง แป้ง
แม่มองดูหน้าตัวเองใน กระจก อยู่นาน ค่อย ๆ หวีผมอย่าง บรรจง
เอาไม้สอย ค่อย ๆ สอย ตามผม และลูกผมเล็ก ๆ ที่ขึ้นอยู่ บ้างก็ถอนออก
และ พลอยสังเกตุเห็นว่า สตรีทุกคนที่เข้ามาในห้องนั้น
แต่งกายสะอาด สะอ้าน เป็นแบบเดียวกัน
ทุกคน นุ่งผ้าแถบ สีประจำวัน อย่างเดียวกัน
จะผิดกันก็ที่ แหวน หรือ สายสร้อย เครื่องประดับกาย
ทุกคน หอม กรุน ไปด้วย กลิ่นอบ กลิ่นร่ำ
นั่ง ..ที่ไหนก็..หอม..ติดกระดาน
ผมใส่ น้ำมัน หวีเรียบ
แต่ละคน ขัดสี ฉวีวรรณ ร่างกายตนมาแล้วอย่างยอดเยี่ยม
หญิงชาววัง จะมีกรรมวิธีประทินโฉมที่ ซับซ้อน
เครื่องประทินโฉม สมัยโบราณส่วนมากจะผลิตผลจากธรรมชาติ
แต่ผ่านขั้นตอนการผลิตที่ ประณีต บรรจง
จนแทบไม่เหลิอร่องรอยของความเป็นธรรมชาติไว้เลย
แป้งร่ำ ซึ่งทำมาจาก หิน
นำมาผ่านกรรมวิธีผสมเครื่องหอม นานาชนิด
เช่น กำยาน ผิงมะกรูด ชะมดเช็ด หญ้าฝรั่น พิมเสน
และนำไป อบร่ำ หลายครั้ง หลายหน จึงกวนให้ เหลว
และ หยอด เป็นเม็ดเล็ก ๆ
ใช้สำหรับผัดหน้า ให้ ขาวนวล และ หอม หรือเจือด้วย น้ำอบ
ปรุงให้ แป้งเหลว ชโลม ลูบไล้ ทาตัว ให้ หอมกรุ่น และ เย็นสบาย
หรืออย่าง น้ำอบ ก็คื อน้ำที่ผ่านกรรมวิธีปรุงด้วยของหอมต่าง ๆ
เช่น ใบเตยหอม ชะลูด แก่นจันทน์เทศ กำยาน
พิมเสน ผิวมะกรูด ดอกมะลิ กุหลาบมอญ จันทน์กะพ้อ
ลำดวน พุทธชาด กระดังงา จำปา และชมนาด
จนน้ำนั้นกลายเป็น น้ำหอม ที่หอมทน
ทั้ง แป้งร่ำ และ น้ำอบ เป็นเครื่องประทินโฉม สำคัญที่ สาวชาววัง
ทุกคนจะต้องมีประจำม้าเครื่องแป่ง
ซึ่งก็คือ ตั่งทรงสี่เหลี่ยมทึบ เตี้ย ๆ นั่นเอง
ความตอนหนึ่ง หนังสือ หอมติดกระดาน
ของ คุณศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย
2
« เมื่อ: มกราคม 23, 2021, 12:28:18 PM »
ใครอยู่ในอากาศ ตอน นางกลม
บทประพันธ์ ของ ครูเหม เวชกร
นายอุทิศได้เดินทางไปฟังเรื่องรักวุ่น ๆ ของหนุ่มสาวคู่หนึ่ง
จากปากของนายแผ้ว ที่บ้านกระทุ่ม โดยลงเรือท้องแบน ข้ามลำน้ำกาญจน์ไป
"ผมอยากฟังนิยายของน้องชายคุณจริง"
"อ๋อ "นายแผ้วร้อง "
เรื่องเจ้ากลั่น โฮ้ย เรื่องของมันสับสนครับ ยุ่งพิลึกเดี๋ยวนี้
ในย่านนี้ ถ้าใครออกชื่อ เจ้ากลั่น ก็จะพากันร้องว่า เจ้ากลั่นตายไปนานแล้ว"
"อ้าว ยังไงกันล่ะ " นายอุทิศสงสัย
"เปล่าครับ อ้ายกลั่นไม่ได้ตายอย่างเข้าใจกัน มันยังมีชีวิต แต่มันสับสน
คราวไหนอ้ายกลั่นแอบมาหาผม ใครเห็นเข้า พากันร้องว่า ผีอ้ายกลั่นมาหลอก"
"เอ๊ะ ก็สับสน ซิยังงั้น" นายอุทิศชักงง
"เรื่องมันยังงี้ครับ"
นายกลั่นเป็๋นน้องนายแผ้ว พ่อแม่ของพวกเขาตายหมด
นายแผ้วจึงเป็นเสมือนพ่อแม่ของนายกลั่น
นายกลั่นไปหลงรัก นางกลม ซึ่งเป็นสาวรำวง
พ่อของนางกลมเป็นคนจีน แต่ตายไปแล้ว
เหลือแต่แม่ซึ่งเป็นคนลาว "ผิวมันก็ขาวผิดลูกบ้านป่า อ้ายกลั่นก็หลงอย่างหลับตา"
นายแผ้วไม่ชอบคนรักของน้องชาย เพราะรังเกียจอาชีพ เกรงว่าจะเป็นปัญหาวันหน้า แต่ขัดน้องชายไม่ได้
วันหนึ่งนายกลั่นพานางกลมหนี แล้วมาขอพี่ชายให้ไปพูดจากะแม่ยายของเขา
นายแผ้วก็จัดการให้ สองผัวเมียจึงได้อยู่ด้วยกัน แต่ไม่นานนิสัยเก่าของนายกลั่นก็โผล่
"เจ้ากลั่นมันมีนิสัยหนักไปทางนักเลงครับ ดื่มเหล้าเอย การพนันเอย
ลงท้ายเล่นฝิ่นเข้าไป แม่ยายมันก็ชักรังเกียจทีเดียว"
"แรก ๆ ก็เตาะแตะเจ้าหมู หรือใบพลูนี่แหละ หนักเข้าก็เลยเข้ากล้องนอนสูบเสียตามธรรมเนียม"
"อ๋อ หมูมันก็ฝิ่น ใบพลูมันก็ฝิ่น มันอย่างเดียวกันแหละครับ เขาเรียกสองชื่อ
คือเอาใบพลูกินกะหมากนี่หละครับ มาหั่นให้เป็นเส้นยาสูบ แล้วตากแดด
พอแห้งก็เอาลงกระทะเล็ก ๆ ผัดกับฝิ่น
พอฝิ่นจับใบพลูดีแล้วก็เอาใบพลูมาสูบ ตั้งชื่อว่า หมู แล้วการสูบ ๆ ด้วยบ้องกัญชา
เอาเส้นใบพลูยัดลงในพวยบ้องกัญชาจุดไฟสูบ"
นายกลั่นติดฝิ่น ฐานะก็แย่ลง แม่ยายด่าเป็นโขลกแป้ง
อยู่ไป ๆ นายกลั่นก็ล้มเจ็บ คนลือกันว่าตายแล้วทั้งนั้น
แต่ลงท้ายเขากลับฟื้นขึ้นมา เมียจึงพาตัวมาส่งให้นายแผ้วดูแลรักษา
จนฟื้นตัวดีแล้ว นายกลั่นขอไปทำงานเหมืองที่ปีล็อก
แต่พอไม่กี่เดือนมีคนส่งข่าวว่านายกลั่นตายในป่าลึก
ไข้ป่ากินตาย เขาฝังกันในป่านั่นเอง
แต่ความจริงนายกลั่นยังไม่ตาย เขาแอบมาหาพี่ชายตอนกลางคืน
ไม่ยอมให้ใครเห็นตัว นายกลั่นเล่าความลับที่เขาได้พบมา
ว่า บ้านเมียนายกลั่นมีคนเป็นกระสือ ตอนที่เขาฟื้นจากสลบ แต่ยังคงไม่สบายอยู่
จึงขอนอนใตุ้ถุนคนเดียว ให้เมียกะแม่ยายนอนบนเรือน
นายกลั่นนอนที่แคร่ใต้ถุนเรือน คืนนั้นยังไม่หลับ เขาเห็นอะไรติดตาก็นิ่งมองดู
เหมือนใครบนเรือนสูบบุหรี่ แล้วดับก้นบุหรี่
เป็นประกายไฟร่วงลงทางร่อง นายกลั่นก็คงมองดูอยู่ สงสัยว่าทำไมไฟบุหรี่จึงไม่ดับ
เจ้าประกายไฟที่ร่วงลงมาคงกองแดงอยู่อย่างนั้น
และในครู่นั้นเจ้าแสงไฟขี้บุหรี่นั้น ค่อยเปลี่ยนจากสีแดงเรื่อ ๆ เป็นสีเรือง ๆ ขึ้น
แล้วก่อตัวเป็นก้อนกลม ๆ เป็นดวงไฟทำการลอยตัวพ้นดินขึ้น
ดวงไฟนั้นค่อย ๆ ลอยสูงจากพื้นดินในราวศอกหนึ่ง ลอยวนอยู่ใต้ถุน"
ดวงไฟประหลาดนั้นลอยวน รอบนายกลั่น เขาร้องด่าไปหยาบ ๆ คาย ๆ
แล้วง้างมือ ง้างแขนวาดไป วาดมา เจ้าดวงไฟก็กลัวจะถูกเลยลอยหนี
นายกลั่นจึงรีบหนีไปอาศัยเพื่อนบ้านนอน แล้วหนีไปที่อื่นเพราะกลัวจะได้อยู่กับผีกระสือ
เมื่อมีข่าวลือว่านายกลั่นตาย นางกลมจึงมีผัวใหม่ แต่อยู่กันได้ไม่ถึงเดือน ผัวใหม่นั้นก็หนีไปอีก
แต่ไม่นานนายกลั่นก็กลับมาขออยู่กับนางกลมอีกซึ่งทำให้นายแผ้วโกรธน้องชายมาก
"เลวทราม เลวทราม ทำเสียเชิงชาย ไม่รักศักดิ์ศรี "
ชาวบ้านก็พูดกันว่า "อีกลมมีผัวเป็นผี" นายกลั่นอยู่กับนางกลมไม่นานก็หายไปอีก
"จนเดี๋ยวนี้ก็เลยไม่รู้เรื่องอ้ายกลั่น ดูมันลึกลับสับสนจริง ๆ "
"หรือจะตายจริง อย่างเขาลือกัน " นายอุทิศออกความเห็น
"ก็พูดไม่ถูก เมื่อเร็ว ๆนี้ ก็มีคนที่ทำเหมืองปิล๊อค
พบกับผม เขาว่า ไอ้กลั่นตายจริง ๆ เป็นไข้ตายในป่า
เขากะเพื่อนช่วยกันฝังกะมือเขาเองทีเดียว แต่มันจะเป็นไปได้ยังไง
ไอ้กลั่นพบกะผมบ่อย ๆ และยังกลับไปเป็นผัวเมียอีกลมอีกเลยพูดไม่ถูก"
"นายแผ้วพูดแล้ววางหน้าอย่างสนเท่ห์ ผมก็เกิดสนเท่ห์
พอรุ่งขึ้นผมก็เลยลานายแผ้ว กลับกรุงเทพฯ เกรงว่าถ้านายกลั่นเกิดมาหานายแผ้วเข้า
ถ้ามาอย่างคนจริง ๆ ก็ไม่เป็นไร ถ้ามาอย่างที่เขาลือกัน ผมก็จะแย่ไปเลย"
สามารถ จันทร์แจ่ม : บันทึก
ครูเหมเป็นผู้ที่ใช้ภาษาไทยโบราณได้เยี่ยมยอดมากค่ะ
ภาษาของท่าน เก่า แต่เราเข้าใจ
เป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของท่าน
อีกทั้งยังมีคำเก่าๆหลายคำ
ที่สมัยนี้ไม่ค่อยมีคนใช้แล้ว
และได้ความรู้เรื่องการสูบฝิ่นด้วย
นี่ละคะ คุณค่าของงานครู หม เวรกร
ขอบคุณ คุณสามารถ จันทร์แจ่ม
ที่กรุณา ย่อ-เล่าจากเรื่องเต็มของ ครู
ให้พวกเราได้อ่าน เสมอๆนะคะ
4
« เมื่อ: มกราคม 21, 2021, 12:20:09 PM »
มอนิ่งง งวดแรก ของปีค่ะ
สัปดาห์สุดท้าย ก่อนหวยออก
เป็นคืนแห่งรถผ้าป่าเกือบ ฟ่ำ
สังหรณ์ ใจ แต่แรกแหละ !!
ลุ้น. .จะออก.. หรือ.. หยุด ..
งวดแรก เห็นทีมจ้าว นำก่อน 1-0 ก็สบายใจ
งวด 2 เสียง ดึ๋ง ดึ๋ง ดึ๋ง มา
ตอนบ่าย รถเป็ดน้อยกูฟ่ำอีกคัน
พอรู้ออกเลขอะไร หงายเงิบ !!
ร้องวี๊ด ช็อตเป็น ยุยเชิญยิ้ม !!!
ใครผ่านงวดนี้ บวกนิดหน่อย ก็โอเค ดีใจด้วย
บางเจ้าแม่ง เว่อร์เกิ๊น !!
เลขอั้นมึง 12 ตัว ไม่เข้าเล๊ย ออกเลข 5 มา ทั้งบน ทั้งล่าง
บอกบวก 50% แหม มึงนี่ เรนนี่ มาก !!
จ้าว หวย !! มึงก็แพ้บ้างสิโว้ย!!
ห่า !! หวย จะได้หนุก ๆ
บอกเลยว่าหลังปีใหม่
งวดต่อไปโลก สงบสุข ไม่มีเสียงก้าบๆ ให้รำคาญ
ชนะยาวๆ ฟันธง!!
มีความเชื่อลึกๆ ว่า ไม่มีอะไรจะมาขัดขวางคนไทย
ในการคิดค้น นวัตกรรม ในการซิกแซกได้
ล็อกหวยเหรอ มันไม่มีจริงหรอกค่ะ
จิตใจเราปรุงแต่ง มันขึ้นมาทั้งนั้น
ถ้าเราทุกคนพร้อมใจกันไม่เชื่อ ก็จะไม่มี๊ ไม่มี หรอก ล็อกหนะ
ไม่มีแบ่งแยก มีแต่ฟามรัก ความกลมเกลียวกัน
แต่ไม่ใช่ ขาดทุนหวย ก็มาด่ารัฐบาล ด่าลุง
เกลียดลุงจนขึ้นสมอง ออกเลขไรมา แม่งก็ยั้ง เข้ามาด่าลุง
เพจด่าลุงมีเพียบมึงไปโน่นเลย 555
นี่ไม่ใช่กลุ่มการเมือง เป็นกลุ่มหวย คุยกัน บ้าๆบอๆ
คุยกันเฮฮา มีหยอก มีแซวบ้าง
กลุ่ม กุ รักลุง เชียร์สุดลิ่ม ทิ่มรูตูด ปกป้องลุงตลอด
จะขี้ จะเยี่ยว ก็หอมกรุ่น กลิ่นลาเวนเดอร์ไปหมด
ออกหน้ารักลุงแบบนี้ หลังไมค์มาด่ากูซะงั้น พ่องตาย 555
รักคุณนะ
เจ๊วู
5
« เมื่อ: มกราคม 14, 2021, 08:38:49 AM »
[size=18pt]18 มกราคม “วันกองทัพไทย”[/size][/b]

วันที่ 18 มกราคม "วันกองทัพไทย"
วันรำลึกถึง "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช"
ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะแก่พระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี
และวันรำลึกถึงวีรกรรมของทหารไทย
พ.ศ.2135 พระเจ้านันทบุเรงได้ให้พระมหาอุปราชายกทัพใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยา
เมื่อสมเต็จพระนเรศวรมหาราชทรงทราบข่าว "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช"
จึงยกทัพหลวงไปตั้งรับที่หนองสาหร่าย ไล่ล่าศัตรูไปจนออกนอกเขตแดน
ระหว่างที่การรบกำลังดำเนินอยู่นั้น ช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
และพระเอกาทศรถก็ได้ไล่ล่าศัตรูไปจนออกนอกเขตแดน จนทำให้ทั้งสองพระองค์ตกไปอยู่ในวงล้อมของศัตรูโดยไม่รู้ตัว
แม้จะอยู่ในสภาวะเสียเปรียบ พระองค์ก็มีพระสติ และทรงแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วว่าทางที่จะรอดได้มีเพียงทางเดียว
คือ เชิญพระมหาอุปราชาเสด็จมาทำยุทธหัตถี ท้ายที่สุดพระองค์ก็สามารถกระทำยุทธหัตถีได้รับชัยชนะอย่างสมพระเกียรติ
การทำยุทธหัตถีในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการทำยุทธหัตถีที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย
และยังเป็นการรบบนบกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีกด้วย วันกองทัพไทย เป็นวันที่ระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะแก่พระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี
เมื่อวันจันทร์แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ณ ตำบลหนองสาหร่าย แขวงสุพรรณบุรี
ทำไมต้อง 18 มกราคม?
ในอดีตกระทรวงกลาโหม่ได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปี เป็นวันกองทัพไทย
ต่อมาปี พ.ศ.2523 เปลี่ยนเป็นวันที่ 25 มกราคม (25)
หลังจากนั้นมีนักประวัติศาสตร์หลายท่านตรวจสอบ
และพบว่าวันที่ทรงกระทำยุทธหัตถีนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม
แต่น่าจะตรงกับวันที่ 18 มกราคม 22 ส.ค.49 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ (18)
ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอให้เปลี่ยนแปลง
กำหนด "วันกองทัพไทย" เป็นวันที่ 18 มกราคมของทุกปี
ที่มา: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
6
« เมื่อ: มกราคม 07, 2021, 05:04:15 PM »
วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
เนื่องในอภิลักขิตสมัยคล้ายวันประสูติ
พันเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
#เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา
พระราชธิดาใน
#พระบาทสมเด็จสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันที่ ๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ (๐๘)
พระชันษาครบ ๓๔ ปี (๓๔)
#ขอทรงพระเจริญเทอญ
#ทูนพระขวัญทูลกระหม่อมหญิงสิริวัณณวรี✨
◎ จำเริญจิต ซาบซึ้ง ตรึงตรามั่น
จำเริญขวัญ พระหน่อเนื้อ อะเคื้อสยาม
จำเริญวัย สง่าองค์ แสนงดงาม
จำเริญตาม ยุบลแบบ โดยแยบคาย
จำเริญพร วอนว่า เทพอารักษ์
จำเริญลักษณ์ จำเริญชนม์ พระฤๅสาย
จำเริญสิริวัณณวรี มิรู้วาย
จำเริญถวาย ทรงพระเจริญเทอญ ๚ะ๛
#ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า “เจ๊วู”
(๘ มกราคม ๒๕๖๔)
7
« เมื่อ: มกราคม 07, 2021, 04:50:12 PM »
วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
" วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ตรงกับวันที่ 17 มกราคม ของทุกปี " (17 )
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย
ทรงทำนุบำรุงปกครองบ้านเมืองด้วยพระเมตตาธรรมต่อไพร่ฟ้า อาณาประชาราษฎร์
ทรงสร้างสรรค์มรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญๆ ของชาติไว้อย่างอเนกอนันต์มรดกของชาติที่สำคัญที่สุดก็
คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1826
อันเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้กันในทุกวันนี้
นอกจากนี้พระองค์ท่านยังได้ทรงรวบรวมแคว้นต่างๆ เข้าด้วยกันจนเป็นราชอาณาจักรไทยที่กว้างใหญ่ไพศาลกว่าทุกยุคสมัยที่ผ่านมา
พระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประโยชน์แก่ประเทศชาติของพระองค์ท่านล้วนแต่เป็นการวางรากฐาน แห่งความเจริญไว้
ให้แก่ประเทศชาติและปวงชนชาวไทยทุกคนสืบทอดต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานมากว่า 718 ปี
สำนักงานสภาจังหวัดสุโขทัย ได้มีหนังสือเสนอต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
ขอให้มีการกำหนด “วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช” ขึ้น ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2531
โดยถือวันที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
ขณะดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงประกอบพระราชพิธีเปิด
พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
วันที่ 17 พฤศจิกาย 2526
เป็น “วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช”
ต่อมาคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย และจัดเอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี
ได้พิจารณาเรื่องการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ใหม่ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์
โดยเสนอว่าควรเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพบหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. 2376
มีการเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี
ได้พิจารณาเห็นชอบด้วย จึงกำหนดให้ วันที่ 17 มกราคม ของทุกปี
เป็น “วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช”
8
« เมื่อ: มกราคม 07, 2021, 04:37:50 PM »
มาแล้ว ทะเบียนรถนายกฯ ไประยอง
คอหวยแห่ส่องหวังรับโชคซับน้ำตา

กย 44คอหวยแห่ส่องทะเบียนรถนายกฯ "บิ๊กตู่" ไประยอง ขณะที่เลขยอดโควิดล่าสุดเกลี้ยงแผง หวังซับน้ำตาจากสถานการณ์โควิด-19
บ่ายวานนี้ (30 ธ.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และคณะทำงาน ได้เดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ มาลงที่สนามกีฬากลางจังหวัดระยอง และเดินทางด้วยรถตู้โตโยต้า อัลพาร์ด สีขาวทะเบียน กย 44 ระยอง เพื่อลงพื้นที่ให้กำลังใจประชาชน เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะบุคคลากรด้านสาธารณสุขที่ช่วยกันเป็นหน่วยหน้าด่านป้องกันโควิด-19
อย่างไรก็ตาม เป็นประจำของทุกครั้งที่นายกฯ ลงพื้นที่ในต่างจังหวัด บรรดาคอหวยต่างไม่พลาดจับจ้องไปที่รถประจำตำแหน่ง ซึ่งทะเบียนรถที่นายกรัฐมนตรีนั่งไปปฏิบัติภารกิจใน จ.ระยอง คือ ทะเบียน กย 44 ระยอง
ทำให้สลากกินแบ่งรัฐบาล หมายเลข 44 รวมถึงเลข 148 จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ล่าสุดใน จ.ระยอง ถูกซื้อไปเกลี้ยงแผงภายใน จ.ระยอง หวังรับโชคไปซับน้ำตาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้
10
« เมื่อ: มกราคม 07, 2021, 03:47:11 PM »
วันครู 16 มค 2564 ครั้งที่ 65
วันครู ตรงกับวันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2564
ภายใต้แนวคิด “พลังครูไทยวิถีใหม่ ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล”
ในส่วนของการจัดงานที่หอประชุมคุรุสภานั้น จะเป็นการบันทึกเทปล่วงหน้าทั้งหมด
ตั้งแต่พิธีบรูพาจารย์ และระลึกถึงพระคุณบรูพาจารย์ พิธีคารวะครูอาวุธโสของนายกรัฐมนตรี
จะสัมภาษณ์ครูอาวุโสของนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีกล่าวมุทิตาจิตต่อครูอาวุโส
นายกรัฐมนตรีมอบสารเนื่องในวันครู ครั้งที่ 65
พิธีคารวะครูอาวุโส และสัมภาษณ์ครูอาวุโสของ รมว.ศึกษาธิการ
14
« เมื่อ: มกราคม 06, 2021, 12:06:35 PM »
ดูว่า...นิ้วมือของตัวเองเป็นแบบไหน
มีคำทำนายสรุปชีวิตสั้นๆ
ภาพขวาบน - นิ้วชี้..ยาวกว่า..นิ้วนาง
ชีวิตที่ต้อง..เหนื่อย
ภาพซ้ายบน - นิ้วชี้..ยาวเท่ากับ..นิ้วนาง
ชีวิตที่ร่ำรวย
ภาพล่าง - นิ้วนาง..ยาวกว่า..นิ้วชี้
ชีวิตที่เสวยสุข
ดู 2 มือประกอบกัน ถ้า 2 ข้างไม่เหมือนกัน
ก็คือ มีนิสัยและโชคชะตาที่ผสมผสานทั้ง 2 ด้าน
นิ้วชี้..ยาวกว่า..นิ้วนาง
นิ้วชี้..เป็นนิ้วที่ยาวแสดงความมุ่งมั่น ทะเยอทะยาน
สร้างอำนาจ และ ความสำเร็จ
จึงต้องเหน็ดเหนื่อย ก็เพราะเป็นบททดสอบ ความมุ่งมั่น ที่จะสร้างวีรกรรม
เนื่องจากปัญหาอุปสรรค ก็คือบันไดที่จะสร้างชื่อให้แก่..ยอดคน
ดั่งเช่น #เล่าปี่ ก็มีชีวิตที่ต้องลำบาก แต่ก็จะมาพร้อมกับความสามารถ และ วีรกรรม
ส่วนคนที่ลำบากแล้วไม่ได้ดี ไม่ประสบความสำเร็จ ก็คือ ทำไม่ถูกวิธี (ชะตามนุษย์)
ไม่ถูกจังหวะ (ชะตาฟ้า) และ ไม่ถูกสถานที่ (ฮวงจุ้ย)
คนที่ นิ้วนาง ยาวกว่า นิ้วชี้
ชีวิตที่มีความสุข ก็ไม่จำเป็นต้องรวย
และนิ้วมือ จะเป็นตัวบอก ข้อสรุปของชีวิต
ไม่ใช่บอกชีวิตช่วงใด ช่วงหนึ่ง หรือ ชีวิตในปัจจุบันนี้
ในความหมายที่แท้จริง นิ้วนาง คือนิ้วแห่งความรัก
ความผูกพัน และอารมณ์จิตใจ
เหมือนกับที่เราใส่แหวนแห่งความรักที่นิ้วนี้
คนที่นิ้วนาง ยาว จึงใส่ใจในเรื่องความสุข
ความรัก ความผูกพัน เหนือกว่าเรื่องวัตถุเงินทอง
ซึ่งถ้าไม่ได้พัฒนาทักษะในการหาเงินไว้เพียงพอ
เมื่อเจอวิกฤตเศรษฐกิจก็จะประสบกับความยากลำบาก
นิ้วชี้ ยาวเท่า นิ้วนาง
ก็คือคนที่ให้น้ำหนักในด้านการสร้างความสำเร็จของชีวิต
กับเรื่องอารมณ์จิตใจและความสุขในชีวิต สมดุลกัน
จึงเป็นคนที่เหมือนเดินทางสายกลางไม่สุดโต่งเกินไป
เมื่อไหร่ที่พอใจในสิ่งที่เรามี ก็เรียกว่า...ร่ำรวย
15
« เมื่อ: มกราคม 03, 2021, 11:32:24 AM »
วิญญาณที่เร่ร่อน ตอน ครูอรุณ
โดย ครูเหม เวชกร
กลกาม และ เวรกรรม มีจริง และบางครั้งไม่ต้องรอถึง ชาติหน้า
แสงเดือน กับ วิภา เป็นเพื่อนรักกันแสงเดือน มีฐานะมั่งคั่ง ตระกูลสูง
เธอแต่งงานกับ นายห้างหนุ่มผู้ร่ำรวย มีลูกด้วยกัน 2 คนเป็นผู้หญิงทั้งคู่
ส่วน วิภา มีอาชีพเป็นครูสอนอยู่ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง
วิภาแต่งงานกับนายตำรวจมีฐานะปานกลาง
วันหนึ่งทั้งสองคนเพื่อนรัก ได้ฟังเสียงคนสีซอสามสาย
เพลงต่อยรูป ดังมาจากบ้านข้างบ้านวิภา
ความหลังครั้งก่อนของแสงเดือน จึงย้อนกลับมา
แสงเดือนมีความหลังฝังใจ ที่เธอได้กระทำให้ชายหนุ่มคนหนึ่ง
ต้องได้รับ ความร้าวรานใจ จนวันตาย
หนุ่มที่น่าสงสารคนนั้นคือ ...ครูอรุณ
แสงเดือน กับ วิภา ตอนอยู่ในวัยแรกรุ่นนั้นชอบดนตรีไทยมาก
ในบ้านของแสงเดือนมีวงดนตรีประจำ
คุณยายของแสงเดือนได้รับ ครูอรุณ
ซึ่งเป็นเด็กกำพร้ามาเลี้ยงดูเป็นลูกบุญธรรม ส่งเสียให้เรียนจนจบ
ได้ทำงาน เป็นครูสอนดนตรีไทยอยู่ที่โรงเรียนนาฏศิลป์
คุณยายมอบให้ครูอรุณสอนดนตรีไทยและเพื่อนๆ โดยสอนที่บ้านของ แสงเดือน
ครูอรุณมีใจให้แสงเดือน แต่สำนึกว่าตัวเองต่ำต้อยด้อยฐานะกว่าจึงสู้เจียมตัวอยู่
แต่แสงเดือนนั้นไม่ชอบครูอรุณ คิดว่าครูอรุณตีเสมอ
จึงให้เพื่อนๆชายที่มาเรียนดนตรีคอยพูดกระแนะกระแหนครูอรุณอยู่เสมอ
ส่วนวิภานั้นเคารพนับถือครูอรุณ พยายามพูดเตือนสติแสงเดือน แต่แสงเดือนไม่สนใจ
"แสงเดือนจ๋า อย่ารุนแรงอะไรกับครูเลย เท่าที่เดือนพูดว่าครูแกทำท่าจะรักเดือน
หรือมีทีเจ้าชู้กับเดือนนั้น ฉันยังไม่ถนัดนัก
ถ้าว่าแกมีนิสัยเจ้าชู้ทำไมฉันไม่ถูกบ้าง และคนอื่นๆ ไม่ถูกบ้าง" "
ก็แกมีสมบัติอะไรล่ะ ที่จะให้เขาหวัง หรือโก้เก๋ว่ามีคู่เป็นคนมั่งคั่ง"
คำพูดของดิฉันนี้ทำให้วิภาชงัก หน้าซีดขาว อ้าปากค้างอยู่สองสามอึดใจ "
ด้วยความชอกช้ำใจ วันหนึ่งครูอรุณก็มาบอกลาแสงเดือนและคุณแม่ของเธอ
"กระผมมาขอกราบลาออกจากครู และจากบ้านนี้ไป เพราะมีธุระจำเป็นจะต้องออกหัวเมืองเหนือ"
ครูอรุณไปอยู่หัวเมืองเหนือได้ 1 ปี คุณยายของแสงเดือนล้มป่วยและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ก่อนที่ท่านจะเสียได้ให้ทนายความประจำ ทำเรื่องยกสมบัติและบ้านตึกของคุณยายให้แก่ครูอรุณ
เมื่อสวดศพให้คุณยาย 7 คืน ในคืนตอนกลางๆ
แสงเดือนก็เห็น "....ใครคนหนึ่งนั่งพับเพียบอยู่ข้างตึก ด้านนอก
เขาผู้นั้นพนมมือฟังพระธรรมอย่างสงบนิ่ง
พอแสงเดือนเดินเข้าไปนิดหน่อย ก็ต้องตกตะลึง ผู้นั้นคือ " ครูอรุณ "
พอเขาเห็นแสงเดือน เขาก็ลุกจากที่นั่น เดินหายไป"
เมื่อปิดศพแล้วตึกเล็กที่ตั้งศพคุณยายก็ปิดเงียบไม่มีใครกล้าเดินผ่านไปที่ตึกนั้น
จนวันหนึ่งเป็นตอนเย็น แสงเดือนได้ยินเสียงหน้าต่างตึกเล็กเปิด
จึงไปเยี่ยมหน้าต่างตึกใหญ่ของเธอมองดู
"เห็นหน้าต่างชั้นบนตึกของคุณยายเปิดหมด
ดิฉันตกใจ เอ๊ะ ใครเปิดทำไม ยังไม่ใช่กำหนดจะเปิดสวด...
ดิฉันมองเห็นคนเดินว้อบแว่บอยู่ในตึกชั้นบน จึงยังยืนดูเฉย
พอผู้นั้นเดินผ่านมาที่หน้าต่างจึงรู้ว่าผู้นั้นคือ ครูอรุณ..."
แสงเดือนคิดว่าครูอรุณรู้ข่าวว่าได้รับมรดกจากคุณยายจึงมาสำรวจทรัพย์สิน
แต่พอสักอาทิตย์วิภาก็มาบอกข่าวว่าครูอรุณเป็นไข้ตายแล้วเมื่อ 7เดือนที่ผ่านมา
นักเรียนที่มาจากเมืองเหนือบอกข่าวกับเธอ
พร้อมกับนำรูปถ่ายที่ครูอรุณถ่ายพร้อมกับลูกศิษย์ในชั้นเรียนให้แสงเดือนดู
แสงเดือนรู้สึกสำนึกผิดที่ทำให้ครูอรุณเสียใจจนตาย
วิญญาณครูอรุณมาปรากฏให้คนรับใช้ในบ้าน
ของแสงเดือนเห็น "ครูอรุณมา ถือดอกไม้ธูปเทียน
ขออนุญาตเข้าไหว้ศพคุณแม่นายท่าน
กระผมก็ยอมให้ แกหายเข้ามาสักครู่จึงกลับออกไป"
เมื่อรู้ว่าครูอรุณตายแน่นอนแล้วแสงเดือนก็ให้รื้อตึกหลังเล็กนั้นเสีย
ต่อมาแสงเดือนก็ได้รู้จักครูสอนดนตรีไทย
เป็นชายหนุ่ม รุ่นราวคราวเดียวกับลูกสาวของเธอ
หนุ่มคนนี้มีรูปร่างหน้าตาคล้ายครูอรุณ และชื่อเดียวกันด้วย
สามีของแสงเดือนประสบอุบัติเหตุด้วยเรือบินอับปางบนอากาศ
ดิ่งลงทะเลเสียชีวิต แสงเดือนเป็นหม้าย
เกิดตกหลุมรักครูสอนดนตรีไทยวัยรุ่น
คือ นายอรุณ จน "...สิ่งที่เลวร้ายไปกว่านั้น
การจะพบกันที่บ้านบ่อยๆ เกรงข้อครหานินทา
หรือขวางหูขวางตาใครต่อใคร เราจึงมีการนัดพบกันที่อื่น
โดยดิฉันขับรถเอง เราแอบไปที่ต่างๆ ที่ไม่มีคนจะรู้จัก
เมื่อนานเข้าๆ ความเลวร้ายก็ขึ้นถึงขีดสุด
คือดิฉันแอบได้เสียกับนายอรุณอย่างลับๆ และปกปิดเรื่อยมา..."
แสงเดือนต้องทนสู้หวานอมขมกลืน
กับสามีหนุ่มวัยรุ่นของเธออย่าวหาทางออกไม่เจอ
เมื่อนายอรุณขอเงินเธอไปบำรุงบำเรอหญิงที่สาวและสวยกว่าเธอ
เธอก็ต้องยอมให้หาไม่แล้วนายอรุณจะไม่ยอมมาหาเธอ
"เป็นการซื้อชายไว้บำเรอสุขเมื่อยามแก่ที่ควรจะรักศักดิ์ศรี"
ครูเหมจบนิยายตอนนี้ว่า ...
"ไม่ว่าท่านผู้อ่านและตัวดิฉันเองก็ทายกาลข้างหน้าไม่ได้ว่า
บั้นปลายจะลงเอยอย่างไร ยิ่งแก่เข้าความร่วงโรย
ก็มีขึ้นเป็นเงาตามตัว คนหนุ่มๆ หรือจะรักอยู่ด้วยความจริงใจ
ถึงว่าจะเปิดเผยให้ใครๆทราบว่าเราเป็นคู่ครองเรือนละ
สังคมก็รังเกียจในสิ่งลักกะเพศ
จึงต้องเป็นคุณนายมืดไปเช่นนี้กว่าจะสิ้นชีพลง
(ไม่ว่าจะยุคใดสมัยใด เรื่องเช่นนี้ยังมีให้เห็นอยู่เสมอ)